สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆท่าน Welcome to...



วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความดันโลหิต


ความดันโลหิต

*โลหิตจะถูกบังคับให้ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย โดยการสูบฉีดของหัวใจ การไหลผ่านของโลหิตในหลอดโลหิตแดงและหลอดโลหิตดำเป็นไปอย่างสะดวก

*แต่การที่จะให้โลหิตซึ่งเป็นของเหลว เหนียว ไหลผ่านหลอดโลหิตฝอยที่มีขนาดเล็กมากจนแทบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก

*ด้วยเหตุนี้ แรงดันในหลอดโลหิตแดงจึงเพิ่มมากขึ้นตามจังหวะที่หัวใจสูบฉีด โดยจะมีระดับสูงมากในส่วนที่ใกล้กับหัวใจและจะมีระดับสูงสุดเมื่อหัวใจห้องล่างบีบตัว

*ดังนั้น ความดันโลหิตจึงมีอยู่ 2 ขนาด คือ แรงดันสูงมากในขณะที่หัวใจห้องล่างบีบตัว และแรงดันจะต่ำ่ลงเมื่อหัวใจห้องล่างคลายตัว แรงดันในหลอดโลหิตนี้ เรียกว่า ความดันโลหิต

*ระดับของความสามารถตรวจสอบได้ โดยใช้เครื่องวัดความดันของโลหิต (Sphygmomanometer) ซึ่งจะวัดและบอกขนาดของความดันออกมาเป็นเลขคู่ เช่น

*ความดัน 120/80 เป็นความดันโลหิตปกติของคนวัยหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดี

*ความดันตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปถือเป็นความดันโลหิตสูง

*ความดันโลหิตของคนสูงอายจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่่บางคนอาจจะมีสูงมากจนถึงระดับอันตราย หากไม่รีบรักษา ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเกินกว่าปกติ เราเรียกว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

*ร่างกายมีความจำเป็นต้องรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อใดก็ตามที่ความดันโลหิตลดลงอย่างกะทันหัน เช่น การสูญเสียโลหิตจามอุบัติเหตุ จะทำให้เกิดอาการช็อค เพราะสมองและอวัยวะต่างๆ มีโลหิตไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ จึงทำให้หมดสติ