มะเร็งปากมดลูก
*มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
*มะเร็ง คือ เนื้อร้ายภายในร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้นโดยปราศจากการควบคุม
*ปากมดลูก คือ อวัยวะในร่างกายสตรี เป็นส่วนหนึ่งของมดลูก อยู่ภายในช่องคลอดมีหน้าที่ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกายและเป็นทางผ่านของสิ่งคัดหลั่งจากมดลูก มะเร็งปากมดลูกเป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก สามารถแพร่ขยายลุกลามและกดเบียด อวัยวะใกล้เคียงมดลูกภายในอุ้งเชิงกราน และสามารถกระจายไปยัง ปอด ตับ ลำไส้ หรือสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะเหล่านั้น ตามมาได้
*มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
*มะเร็ง คือ เนื้อร้ายภายในร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้นโดยปราศจากการควบคุม
*ปากมดลูก คือ อวัยวะในร่างกายสตรี เป็นส่วนหนึ่งของมดลูก อยู่ภายในช่องคลอดมีหน้าที่ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกายและเป็นทางผ่านของสิ่งคัดหลั่งจากมดลูก มะเร็งปากมดลูกเป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก สามารถแพร่ขยายลุกลามและกดเบียด อวัยวะใกล้เคียงมดลูกภายในอุ้งเชิงกราน และสามารถกระจายไปยัง ปอด ตับ ลำไส้ หรือสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะเหล่านั้น ตามมาได้
*มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?
*มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งแห่งความรัก หากปราศจากการมีเพศสัมพันธ์ มะเร็งก็ไม่เกิด
*พบว่าเชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ชักนำให้ปากมดลูกเกิดความผิดปกติกลายเป็นมะเร็ง โดยเชื้อไวรัส HPV นี้เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่
*เมื่อสตรีได้รับเชื้อไวรัส HPV มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อชนิดนี้จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมภายในเซลล์ปากมดลูก จนกลไกการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ถูกกระตุ้นขึ้น ตามมาด้วยการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ซึ่งไม่อาจหยุดยั้งได้ของเซลล์เนื้องอก
*ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
*การมีเพศสัมพันธ์กับชายสำส่อน ซึ่งอาจรับเชื้อไวรัส HPV เข้าสู่ร่างกายจากสตรีอื่นมาแล้ว
*การมีคู่นอนหลายคน ทำให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัส HPV มากขึ้น
*การมีเพศสัมพันธ์ขณะอยู่ในวัยเด็กหรือวัยรุ่น เนื่องจากปากมดลูกในระยะนี้ไวต่อการติดเชื้อ HPV
*การสูบบุหรี่หรือขาดสารอาหารบางชนิด ทำให้ร่างกายมีความบกพร่องของกลไกป้องกันไวรัส HPV
*จะเห็นได้ว่า โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ง่ายมาก เป็นโรคที่ต้องใช้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา ความรักระหว่างสามีภรรยา ความรักระหว่างสมาชิกในครอบครัว ความอบอุ่นภายในครอบครัว ความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่สำส่อนจะไม่มีโอกาสรับเชื้อไวรัสมหาภัยชนิดนี้มาได้เลยค่ะ
*สตรีที่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มาก คือ
*สตรีที่มีอายุอยู่ในช่วง 30 – 50 ปี
*สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ขณะอายุยังน้อย
*สตรีที่มีคู่นอนหลายคน
*สตรีที่สามีเที่ยวโสเภณี
*สตรีที่ติดโรคทางเพศสัมพันธ์บ่อยๆ เช่น หูดหงอนไก่ เริม
*สตรีที่สูบบุหรี่
*สตรีที่ไม่เคยตรวจภายในเลย
*ส่วนอาการแสดงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้น ในมะเร็งระยะเริ่มต้นส่วนมากจะไม่มีอาการใดๆ เลยค่ะ
*ในรายที่มะเร็งมีอาการลุกลามมากแล้วทำให้เกิดอาการ เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน ตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีหนองหรือเลือดปน ซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
*อาการที่พบของมะเร็งปากมดลูกคือ มีตกขาวจำนวนมากผิดปกติ ลักษณะเป็นหนอง กลิ่นเหม็นหรือมีลักษณะคล้ายน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด เลือดออกกะปริบกะปรอย เลือดออกหลังร่วมเพศ หรือเลือดออกในขณะที่ไม่ใช่รอบเดือน เป็นต้น
*แต่อาการเหล่านี้ไม่ใช่จะเป็นอาการของมะเร็งปากมดลูกเสมอไปนะค่ะ เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ ได้ด้วยค่ะ ซึ่งอย่างไรก็ตามควรไปตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ค่ะ
*ทำอย่างไรคุณผู้หญิงจึงจะทราบว่า เราเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่
*เนื่องจากมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันและตรวจพบได้ ตั้งแต่เซลเริ่มผิดปกติ และสามารถรักษาให้หายได้ในระยะเริ่มต้น เพราะมีการดำเนินโรค แบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน และเป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตรวจวินิจฉัยง่ายกว่าอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย
*แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว ก่อนที่จะเป็นมะเร็งลุกลาม จากการตรวจภายในและเก็บตัวอย่างเซลบริเวณปากมดลูกไปตรวจหรือที่เรียกว่าการทำ แป๊ปสเมียร์ ( Pap smear ) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นค่ะ ฉะนั้น คุณผู้หญิงทุกคนควรตระหนักถึง ความสำคัญของการมาตรวจหามะเร็งปากมดลูกให้มากๆ นะค่ะ
*คุณผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหามะเร็งปากมดลูกเมื่อใด
*ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ
*ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป
*โดยควรมาตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามแพทย์นัด ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น
*การป้องกัน
*การป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่สามารถทำได้ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน งดสูบบุหรี่ สังเกตอาการผิดปกติและที่สำคัญก็คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกทุกปี ค่ะ
*การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือ การใช้กล้องส่องตรวจปากมดลูก ที่เรียกว่า กล้องคอลโปสโคป เป็นกล้องขยายดูปากมดลูกในรายที่ผลการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยการทำแป๊ปสเมียร์ผิดปกติ ทำให้ง่ายต่อการรักษามากขึ้นค่ะ
*การรักษาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกก่อนระยะลุกลาม สามารถรักษาให้หายได้ โดยการผ่าตัด หรืออาจใช้เครื่องจี้เย็น เครื่องจี้ไฟฟ้า และการใช้เลเซอร์
*ส่วนมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ก็สามารถรักษาได้ผลดีจากการผ่าตัด การฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค ยิ่งตรวจค้นพบได้เร็วเท่าไรโอกาสหายก็ยิ่งมีมากค่ะ
*ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการรักษามะเร็งปากมดลูกได้ผลดีมาก อัตราการอยู่รอด 5 ปีในมะเร็งระยะแรกๆ มีมากถึงกว่า 90% ที่เดียวละค่ะ
*การตรวจหามะเร็งปากมดลูกทำได้อย่างไร
*มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถสืบค้นและป้องกันได้ค่ะ โดยการตรวจภายในเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก เรียกว่า การตรวจแป็ปสเมียร์ค่ะ เป็นการตรวจภายในแล้วใช้ไม้พายเล็กๆ ป้ายบริเวณปากมดลูก เพื่อนำเซลล์ไปตรวจหาความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือที่เป็นมะเร็งระยะก่อนลุกลาม ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 5 นาที โดยไม่มีความเจ็บปวดใดๆ ขณะตรวจเลย
*สตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกช่วงอายุ หรือที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แต่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจภายในหามะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแป็ปสเมียร์ปีละ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้บ้านนะค่ะ การตรวจภายในไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือมีความเจ็บปวดใดๆ เลยค่ะ สตรีควรพิทักษ์สิทธิในร่างกายเราและป้องกันการเกิดโรคซึ่งสามารถจะป้องกันด้วยตัวเราเองนะคะ
*สำหรับการเตรียมตัวในการตรวจแป็ปสเมียร์ไม่ยากเลยค่ะ โดยควรจะตรวจทันทีที่นึกได้ว่าปีนี้ยังไม่ได้ตรวจภายใน โดยวันที่จะมาตรวจภายใน
*ไม่ควรจะเป็นวันที่มีประจำเดือน และควรตรวจหลังประจำเดือนหมดไปแล้ว 2 สัปดาห์
*งดเพศสัมพันธ์และงดการสวนล้างช่องคลอดในวันก่อนตรวจ 1 วัน ค่ะ
*การป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก
*นอกจากการตรวจหามะเร็งปากมดลูกแล้ว เรายังสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยการ ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์ โดยการงดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ ทำจิตใจให้เบิกบาน แจ่มใส ไม่สำส่อนหรือมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่สาม
*หลายคนอาจคิดว่ามะเร็งปากมดลูกเกิดกับผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือสำส่อนทางเพศเท่านั้น ต้องบอกว่าผิดถนัด เพราะเพียงชั่วขณะที่คุณเข้าห้องน้ำก็สามารถนำไปสู่การเกิดโรคนี้ได้
*ตามปกตินิสัยผู้หญิงจะติดทิชชูเวลาเข้าห้องน้ำ โดยไม่รู้เลยว่าพฤติกรรมติดทิชชูนี้จะเป็นการพามะเร็งร้ายเข้าตัว เนื่องจากทิชชูมีสารเคมีตัวฉกาจผสมอยู่ เมื่อใช้ไปนานๆ จะทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดและขยายวงกว้างจนกลายเป็นมะเร็งร้าย
*คุณควรปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ หลังจากทำธุระเรียบร้อยแล้วให้ให้ใช้ทิชชูซับเพียงเบาๆ และอย่าเกิน 10 วินาที ห้ามเช็ดหรือถูเด็ดขาด วิธีนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
*การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน HPV
*ในประเทศไทย มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV 2 ชนิด คือ
*วัคซีนการ์ดาซิล (Gardasil) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อต้นเดือน พฤษภาคม เป็นวัคซีนรวม 4 สายพันธุ์ สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 ซึ่งวัคซีนสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 อันเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกทั่วโลก ประมาณร้อยละ 70 และหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ ที่สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ได้
*วัคซีนเซอร์วาริก (Cervarix) ซึ่งคาดว่าจะผ่านการรับรองและจำหน่ายได้ราวเดือนสิงหาคมนี้ เป็นวัคซีน 2 สายพันธุ์ สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นต้นเหตุส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งปากมดลูก
*การฉีดวัคซีน HPV
*เพื่อให้วัคซีน HPV เกิดประโยชน์สูงสุด แนะนำให้ฉีดวัคซีนในเด็กผู้หญิงอายุ 9-26 ปี (ก่อนถึงวัยมีเพศสัมพันธ์) และในผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อ HPV มาก่อน และสำหรับวัคซีนชนิดรวม 4 สายพันธุ์ สามารถฉีดในเด็กผู้ชาย อายุ 9-11 ปีได้อีกด้วย เพื่อป้องกันการเกิดโรคหูดหงอนไก่และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้หญิงในอนาคต
*การฉีดวัคซีน HPV ให้ฉีด 0.5 มล. เข้ากล้ามเนื้อหัวไหล่ จำนวน 3 ครั้ง
*ครั้งที่ 1 ฉีดในวันที่กำหนดเลือก
*ครั้งที่ 2 ฉีดในเดือนที่ 1-2 หลังจากการฉีดครั้งแรก
*ครั้งที่ 3 ฉีดในเดือนที่ 6 หลังจากการฉีดครั้งแรก*ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน HPV
*โดยทั่วไปการฉีดวัคซีน HPV มีความปลอดภัยสูง ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ ไข้ พบประมาณร้อยละ 10 และบริเวณที่ฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวด บวม แดง และคัน เป็นอยู่ชั่วคราวและหายไปเอง
*สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
*วัคซีนเป็นวัคซีนป้องกัน แต่ไม่ใช่วัคซีนสำหรับรักษาในกรณีที่เกิดรอยโรคจากการติดเชื้อไวรัส HPV แล้ว
*เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรให้วัคซีนตั้งแต่ก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก แต่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังคงต้องมีการตรวจแปปสเมียร์ประจำทุกปี หรือตามแพทย์นัด